วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ทรัพยากรธรรมชาติในทวีบยุโรป

ทรัพยากรธรรมชาติในทวีปยุโรป

ดิน ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีดินอุดมสมบูรณ์มากที่สุดแห่งห


นึ่งของโลก ดินที่อุดมสมบูรณ์ คือ ดินร่วนที่มีลักษณะร่วนมีสีดำ พบมากทางตอนใต้ของรัสเซีย,ยูเครน,โปแลนด์,สาธารณรัฐเช็ก,สโลวาเกียและออสเตรีย เหมาะแก่การปลูกข้าวสาลี สำหรับบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำก็มีความอุดมสมบูรณ์อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการทับถมของดินตะกอนที่น้ำพามาทับถมกัน จึงเหมาะแก่การเพาะปลูก
น้ำ ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีขนาดเล็ก ภายในทวีปยุโรปมีแม่น้ำสำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำไรน์,แม่น้ำโรน,แม่น้ำดานูบ,แม่น้ำโวลกาและแม่น้ำโป เป็นต้น เนื่องจากทวีปยุโรปอยู่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเล จึงได้รับอิทธิพลจากลมตะวันตก ทำให้ทวีปยุโรปมีฝนตกชุกตลอดทั้งปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยมากกว่า 250 มิลลิเมตรต่อปี โดยสถิติสูงสุดที่เคยทำไว้ คือ 1,500 มิลลิเมตรต่อปี
ป่าไม้ เนื่องจากทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมมาก จึงทำให้ป่าไม้ส่วนใหญ่ถูกทำลาย ประกอบกับทวีปยุโรป เป็นทวีปที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น จึงต้องใช้พื้นที่เป็นที่เพาะปลูกและที่อยู่อาศัย แหล่งป่าไม้ที่สำคัญของทวีปยุโรป คือ บริเวณประเทศอังกฤษ,เดนมาร์ก,ไอร์แลนด์และเนเธอร์แลนด์ ลักษณะของป่าไม้ในทวีปยุโรป เป็นป่าไม้เนื้ออ่อนและป่าไม้เนื้อแข็ง ไม้ที่พบมาก คือ ไม้สน ในประเทศฟินแลนด์,สวีเดน,นอร์เวย์และทางใต้ของเทือกเขาแอลป์
แร่ธาตุ แร่ธาตุที่สำคัญของทวีปยุโรป คือ

  • เหล็ก พบมากใน รัสเซีย,ฝรั่งเศส,อังกฤษ,ยูเครน,เยอรมนี,เช็ก,สโลวาเกีย,โรมาเนียและโปแลนด์
  • ถ่านหิน พบมากใน อังกฤษ,เบลเยียม,เนเธอร์แลนด์,ลักเซมเบิร์ก,ยูเครนและเยอรมนี
  • บอกไซต์ พบมากใน ฝรั่งเศส,ฮังการี,กรีซและเซอร์เบีย
  • ตะกั่ว พบมากใน บัลแกเรีย,อิตาลี,และเยอรมนี
  • น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เพบมากใน ขตทะเลเหนือและกลุ่มประชาคมรัฐเอกราช
  • ทองแดง พบมากใน สวีเดนและสเปน
  • สังกะสี พบมากใน เยอรมนี,ฝรั่งเศส,สเปน,โปแลนด์และอิตาลี
  • โปแตช พบมากใน เยอรมนีและฝรั่งเศส

ทรัพยากรป่าไม้จังหวัดนครราชสีมา

Standard
ทรัพยากรป่าไม้จังหวัดนครราชสีมา
จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมด ๒,๒๙๗,๗๓๕ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๙๔  ของพื้นที่ทั้งจังหวัด  ปัจจุบันมีสภาพป่าดิบสมบูรณ์เนื้อที่ประมาณ  ๑,๒๔๓,๗๔๓ไร่   คิดเป็นร้อยละ ๙.๗๑  ของพื้นที่ทั้งจังหวัด  มีพรรณไม้สำคัญที่ขึ้นอยู่ ได้แก่  ไม้ประดู่  ไม้แดง  ไม้มะค่าโมง  ไม้เต็ง  ไม้รัง  ไม้ยาง  ไม้เหียง  ไม้พลวง เป็นต้น รองลงมาเป็นป่าผลัดใบสมบูรณ์ร้อยละ ๓.๕๔ ของพื้นที่ทั้งจังหวัด และพื้นที่ป่าผลัดใบรอสภาพฟื้นฟูร้อยละ  ๒.๔๘ ของพื้นที่ทั้งจังหวัด โดยมีการกำหนดให้เป็นพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมาย ดังนี้
๑. พื้นที่อุทยานแห่งชาติ จำนวน  ๒  แห่ง คืออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และอุทยานแห่งชาติทับลาน  รวมเนื้อที่ประมาณ ๑,๔๑๒,๔๒๕ ไร่
๒. พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน ๒๙ ป่า รวมเนื้อที่ประมาณ ๔,๘๖๔,๒๓๘.๕๐ ไร่  ซึ่งในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๐ และ ๑๗ มีนาคม ๒๕๓๕  จำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น ๓ เขต คือ
- เขตพื้นที่เหมาะสมการเกษตร (Zone A) เนื้อที่ประมาณ ๙๑,๐๑๒ ไร่
- เขตพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ (Zone C) เนื้อที่ประมาณ ๑,๕๗๕,๒๑๘ ไร่
- เขตพื้นที่ป่าเพื่อเศรษฐกิจ (Zone E) เนื้อที่ประมาณ ๓,๒๘๒,๑๘๖ ไร่
โดยพื้นที่ป่าเพื่อเศรษฐกิจ (Zone E) บางส่วน และพื้นที่เหมาะสมการเกษตร (Zone A) กรมป่าไม้ได้มอบพื้นที่ให้สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรนำไปปฏิรูปเพื่อเกษตรกรรมแล้ว
จังหวัดนครราชสีมามีภูเขาที่สำคัญ ได้แก่ เขาเขียว เขากบินทร์ เขาบรรทัด  เขาสันกำแพง  เขาดงพญาเย็น  เขาดงพญาไฟ  และเขาใหญ่ จากภาพถ่ายดาวเทียม  Lansat-TM  มาตราส่วน  ๑:๕๐,๐๐๐  เมื่อปี  ๒๕๔๖
พบว่า  จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่ป่าไม้คิดเป็นร้อยละ  ๑๕.๗๔  ของพื้นที่จังหวัด  หรือคิดเป็นเนื้อที่  ๒,๐๔๕,๒๕๐  ไร่  ต่อมาในปี  ๒๕๔๗  พื้นที่ป่าลดลงเหลือร้อยละ  ๑๕.๓๗  ของพื้นที่จังหวัดคิดเป็นเนื้อที่  ๑,๙๖๘,๗๐๑.๕  ไร่  ในปี  ๒๕๔๘  พื้นที่ป่าลดลงเหลือร้อยละ  ๑๕.๒๐  ของพื้นที่จังหวัด  หรือคิดเป็นเนื้อที่  ๑,๙๔๕,๙๒๖.๗  ไร่  ต่อมาในปี  ๒๕๔๙  จากการแปลภาพถ่ายดาวเทียมและการตรวจสอบภาคพื้นดิน  (Ground Check)  พบว่าจังหวั


ดนครราชสีมามีพื้นที่ป่าเหลือร้อยละ  ๑๔.๒๒  หรือ  ๑,๘๒๑,๙๐๐  ไร่  (๒,๙๑๕.๐๔  ตร.กม.)  ซึ่งพื้นที่ป่ามีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ  เนื่องจากยังคงมีการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าไม้  ทำให้ป่าไม้ลดลงอยู่เสมอและไม่สามารถเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้ถึงเป้าหมายตามที่กำหนดไว้
จากสถานการณ์แนวโน้มของปัญหาดังกล่าวจะเห็นได้ว่าพื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดนครราชสีมามีแนวโน้มลดลงทุก ๆ  ปี  โดยปัญหาสำคัญ  คือ  การบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าไม้  อันเป็นผลมาจากความไม่ชัดเจนของแนวเขตป่าไม้  ทำให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้อย่างต่อเนื่อง  ดังนั้น  แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ค่อนข้างได้ผลมากที่สุด  คือ  การจัดทำแนวเขตป่าไม้ให้ชัดเจนควบคู่ไปกับการประชาสัมพันธ์ให้ทุกฝ่ายทราบถึงโทษทางกฎหมายของการบุกรุกยึดถือครอบครองพื้นที่ป่าไม้ ตลอดจนการปลูกฝังสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ  รวมไปถึงการเร่งส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว  โดยการปลูกป่าในที่ดินของรัฐหรือที่ดินของเอกชน  การปลูกต้นไม้ในเมือง  การปลูกต้นไม้ในที่สาธารณประโยชน์ให้มากยิ่งขึ้น

การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ


การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

  • การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้และแร่ธาตุ        
          1. ดิน  ดินมีประโยชน์ในการเพาะปลูกพืชต่าง ๆ ใช้เป็นที่ปลูกบ้านนอกจากนี้ ดินบางชนิด เช่น ดินเหนียว ยังนำมาปั้นเป็นเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่เรียกว่า เครื่องปั้นดินเผา      
          2. น้ำเป็นทรัพยากรที่มีมาก เราใช้ประโยชน์จากน้ำในการเพาะปลูก ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า ใช้ในการคมนาคมทางน้ำ ใช้ดื่ม ใช้ชำระล้าง และใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นต้น แต่ปัจจุบันแหล่งน้ำต่าง ๆ ถูกทำลายจนเกิดการเน่าเสีย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการปล่อยสารเคมี น้ำเสียจากโรงงาน การทิ้งขยะ เป็นต้น
        
         3. ป่าไม้ ป่าไม้มีประโยชน์สามารถนำมาสร้างเป็นบ้านเรือนสิ่งก่อสร้าง และเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น โต๊ะ เตียง ตู้ เป็นต้น ในอดีตป่าไม้ของไทยมีจำนวนมาก แต่ในปัจจุบันป่าไม้ของไทยถูกลักลอบบุกรุกตัดเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ป่าไม้เหลือน้อยลง
        4. แร่ธาตุ เป็นทรัพย์ในดินที่มีประโยชน์มาก  แร่ที่มีค่าสามารถส่งไปขายต่างประเทศ ได้แก่ แร่ดีบุก ซึ่งมีมากทางภาคใต้ นอกจากนี้ยังมีแร่วุลแฟรม ตะกั่ว เหล็ก ลิกไนต์ น้ำมัน ทอง เป็นต้นซึ่งเป็นแร่เศรษฐกิจประโยชน์ที่ได้จากแร่ เช่น นำแร่ทองมาทำเป็นเครื่องประดับต่าง ๆ นำเหล็กมาใช้ในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นต้น 

หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ



หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
          ในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เหมาะสมและได้รับประโยชน์สูงสุด ควรคำนึงถึงหลักต่อไปนี้
          1. การอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ต้องคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติอื่นควบคู่กันไป เพราะทรัพยากรธรรมชาติต่างก็มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์และส่งผลต่อกันอย่างแยกไม่ได้
          2. การวางแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาด ต้องเชื่อมโยงกับการพัฒนา สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และคุณภาพชีวิตอย่างกลมกลืน ตลอดจนรักษาไว้ซึ่งความสมดุลของระบบนิเวศควบคู่กันไป
          3. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย ทั้งประชาชนในเมือง ในชนบท และผู้บริหาร ทุกคนควรตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา โดนเริ่มต้นที่ตนเองและท้องถิ่นของตน ร่วมมือกันทั้งภายในประเทศและทั้งโลก
          4. ความสำเร็จของการพัฒนาประเทศขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์และความปลอดภัยของทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติจึงเป็นการทำลายมรดกและอนาคตของชาติด้วย


          5. ประเทศมหาอำนาจที่เจริญทางด้านอุตสาหกรรม มีความต้องการทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก เพื่อใช้ป้อนโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศของตน ดังนั้นประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายจึงต้องช่วยกันป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์ของประเทศมหาอำนาจ
          6. มนุษย์สามารถนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วยในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้ แต่การจัดการนั้นไม่ควรมุ่งเพียงเพื่อการอยู่ดีกินดีเท่านั้น ต้องคำนึงถึงผลดีทางด้านจิตใจด้วย
          7. การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมแต่ละแห่งนั้น จำเป็นต้องมีความรู้ในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่จะให้ประโยชน์แก่มนุษย์ทุกแง่ทุกมุม ทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยคำนึงถึงการสูญเปล่าอันเกิดจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติด้วย
          8. รักษาทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นและหายากด้วยความระมัดระวัง พร้อมทั้งประโยชน์และการทำให้อยู่ในสภาพที่เพิ่มทั้งทางด้านกายภาพและเศรษฐกิจเท่าที่ทำได้ รวมทั้งจะต้องตระหนักเสมอว่า การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มากเกินไปจะไม่เป็นการปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม
          9. ต้องรักษาทรัพยากรที่ทดแทนได้ โดยให้มีอัตราการผลิตเท่ากับอัตราการใช้หรืออัตราการเกิดเท่ากับอัตราการตายเป้นอย่างน้อย
          10. หาทาวปรับปรุงวิธีการใหม่ ๆ ในการผลิต และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งพยายามค้นคว้าสิ่งใหม่มาใช้ทดแทน
          11. ให้การศึกาาเพื่อให้ประชาชนเข้าใจถึงความสำคัญในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทย

ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทย


ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่อย่างมากมาย และยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ แบ่งออกเป็น ทรัพยากรดิน ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรน้ำ และทรัพยากรแร่ธาตุ

ทรัพยากรดิน[แก้]

ดินที่ปรากฏในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย แบ่งได้ 4 ชนิด[1] ได้แก่ ดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย และดินอินทรีย์
  • ดินเหนียว: พบได้ทั่วไปในบริเวณที่ราบของแม่น้ำสายต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะเป็นที่ราบน้ำท่วมถึง ที่ราบปากแม่น้ำ ในภาคเหนือพบบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบได้ในบริเวณแอ่งโคราช ภาคตะวันออกพบบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกง ภาคตะวันตกพบบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่กลอง และภาคใต้พบบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำตาปี ปากพนัง ดินเหนียวมีลักษณะเป็นเนื้อละเอียด ขยายและหดตัวได้สูง จึงสามารถแตกระแหงได้โดยเฉพาะในฤดูแล้ง เหมาะแก่การปลูกข้าว ปอกระเจา เป็นต้น
  • ดินร่วน: พบได้ทั่วไปในภูมิประเทศที่เป็นที่ดิน โคก เนิน โนน ซึ่งเป็นตะพักลำน้ำของแม่น้ำ ดินชนิดนี้พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลางตอนบน และภาคเหนือ ดินร่วนประกอบด้วยดินเหนียวและดินทราย เหมาะแก่การปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ทานตะวัน อ้อย มันสำปะหลัง เป็นต้น
  • ดินทราย: พบบริเวณเชิงเขา ชายฝั่งทะเล และริมฝั่งแม่น้ำ พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินจะประกอบด้วยทรายมากเนื่องจากเป็นดินที่เกิดใหม่ เหมาะแก่การปลูกป่าและพืชสวน
  • ดินอินทรีย์: พบในพื้นที่ที่เคยเป็นป่าชายเลนเก่า ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นพื้นที่ราบลุ่มอยู่ในแผ่นดิน โดยจะเรียกพื้นที่ลักษณะนี้ว่า "พรุ" ดินชนิดนี้พบได้ใน ป่าพรุสิรินธร จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น ดินอินทรีย์ประกอบด้วยซากพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อยย่อยสลายแล้ว เป็นวัตถุสะสมอยู่ในดินชั้นบน

ทรัพยากรป่าไม้[แก้]

ในประเทศไทยมีป่าไม้กระจายอยู่ทั่วประเทศ มีลักษณะแตกต่างกันตามภูมิประเทศและภูมิอากาศ แบ่งได้ 2 ประเภท[1] ได้แก่ ป่าผลัดใบ และป่าไม่ผลัดใบ

ทรัพยากรน้ำ[แก้]

แม่น้ำเจ้าพระยา เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของประเทศไทย
เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ต้องมีการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเกษตร แหล่งน้ำสำคัญในประเทศไทยมี 2 แหล่ง[1] ได้แก่ จากน้ำผิวดินและน้ำบาดาล
  • น้ำผิวดิน: ได้แก่ ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ อ่างเก็บน้ำ เขื่อน ประเทศไทยมีแม่น้ำที่สำคัญที่สุดคือ แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของประเทศหล่อเลี้ยงพื้นที่ราบใหญ่ทางตอนกลางของประเทศ นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำสำคัญตามภาคเช่น แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ในภาคเหนือ แม่น้ำมูล ชี ในภาคอีสาน แม่น้ำแม่กลองในภาคตะวันตก แม่น้ำตาปี ในภาคใต้
  • น้ำบาดาล: ในประเทศไทยน้ำบาดาลในแหล่งต่าง ๆ ถูกนำมาใช้มาก เนื่องจากการขาดแคลนน้ำผิวดินและมีโครงข่ายน้ำประปาไม่ทั่วถึง เช่น หมู่บ้านจัดสรร โรงงานอุตสาหกรรม จนเกิดปัญหาการทรุดตัวของแผ่นดิน เช่น บริเวณเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร เช่น พื้นที่เขตบางนา ลาดกระบัง หนองจอก มีนบุรี จังหวัดสมุทรปราการและปทุมธานี

ทรัพยากรแร่ธาตุ[แก้]

ประเทศไทยมีทรัพยากรแร่ธาตุมากมายหลายชนิดทั้งแร่โลหะ แร่อโลหะ แร่เชื้อเพลิง กัมมันตภาพรังสีและแร่รัตนชาติ มีการขุดขึ้นมาใช้ตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน แร่ที่สำคัญในประเทศไทยแยกตามชนิด

ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

               ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนนำมาใช้ ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง ตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์ อุบัติขึ้นในโลก   ทรัพยากรธรรมชาตินำมาซึ่งปัจจัยสี่ อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน ในการดำเนินชีวิต   ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย  เครื่องนุ่งห่ม  และยารักษาโรค แต่ปัจจุบันมนุษย์ ไม่ได้มีความต้องการเฉพาะ ปัจจัยสี่หลักที่กล่าวมาแล้วเท่านั้น  มนุษย์ยังต้องการ  สิ่งอำนวยความ สะดวกอีกมากมาย   อันเป็นสาเหตุให้มนุษย์ นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ อย่างมากมายและ ฟุ่มเฟือย  ทรัพยากรธรรมชาติจึงร่อยหรอไปอย่างรวดเร็ว   การที่มนุษย์ผู้ใช้ประโยชน์ มักไม่ค่อย สนใจ วิธีการสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ปล่อยให้ทรัพยากรธรรมชาติต้องสูญเสียไป โดยเปล่าประโยชน์  และผลกระทบเหล่านั้น ก็ส่งผลกระทบถึงตัวมนุษย์เอง   อาทิมาตรฐานการ ครองชีพต่ำ ภาวะการขาดแคลนอาหารภัยพิบัติ ที่เกิดจากธรรมชาติ ขาดความสมดุล เช่น อุทกภัยวาตภัย ดินเสื่อมคุณภาพ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้หมดไป สิ่งต่าง ๆ   เหล่านี้ ล้วนแต่เกิดขึ้นจาก การใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยไม่นำพากับการอนุรักษ์ และการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างถูกวิธีทั้งสิ้น   สักวันหนึ่งทรัพยากรธรรมชาติ เหล่านี้ต้องหมดไป หรือ เสื่อมคุณภาพ ความจำเป็นในการที่มนุษย์จะต้องช่วยกัน อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อ ให้สามารถ อำนวยประโยชน์ให้แก่มนุษย์ ให้มากที่สุด ยาวนานที่สุดเท่าที่จะทำได้
ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

        ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resources)  หมายถึง  สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
สามารถสนองความต้องการของมนุษย์ได้  หรือมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีพได้
(นิวัติ, 2537)  เช่น  น้ำ  ป่าไม้  ดิน  สัตว์ป่า  แร่ธาตุ เป็นต้น

        ที่ผ่านมากิจกรรมการพัฒนาต่างๆ ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมของมนุษย์เป็นการนำเอา
ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ ซึ่งการใช้ประโยชน์ ทรัพยากรต่าง ๆจะก่อให้เกิด
ผลกระทบต่อความสมดุลของระบบนิเวศ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรหนึ่งย่อมมี
ผลกระทบต่อทรัพยากรอื่น ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น การทำไม้จะทำให้เกิดผลกระทบต่อการ
พังทลายของดินคุณภาพน้ำแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสัตว์ป่า ต่างๆ ปริมาณ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศของโลก เป็นต้น
         สำหรับประเทศไทย สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2547)
กล่าวว่า   การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ  ที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อ
ความต้องการใช้ทรัพยากร  ธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรป่าไม้
ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงาน ทรัพยากรชายฝั่งและ
ทรัพยากรประมง ทำให้ปริมาณและคุณภาพของทรัพยากรต่าง ๆ ลดลง จำเป็นจะต้อง
มีการติดตามและตรวจสอบสถานภาพของทรัพยากรธรรมชาติของประเทศอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อให้สามารถวางแผนและดำเนินการแก้ไขได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยการจัดการ
ทรัพยากรต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นให้รอบด้าน เพื่อให้เกิดการใช้
ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป
        สิ่งแวดล้อม  (Environment)  หมายถึง  ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์  มีความ
เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์  มีทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม  ทั้งที่มีชีวิตและ
ไม่มีชีวิต  อย่างไรก็ตามสิ่งแวดล้อมอาจแบ่งตามลักษณะได้ 2 ส่วน คือ
        1)  สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือ ทรัพยากรธรรมชาติ
        2)  สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น  เช่น  สิ่งก่อสร้าง  ชุมชนเมือง  โบราณสถาน
              ขนบธรรมเนียมประเพณี  วัฒนธรรม  เป็นต้น
ประเภทของทรัพยากรธรรมชาต
        ทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่รอบตัวมนุษย์  สามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ

1)  ทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่รู้จักหมดสิ้น  (Inexhaustible Natural Resources)  ทรัพยากร
ธรรมชาติประเภทนี้มีความจำเป็นต่อร่างกายและสิ่งมีชีวิตอย่างยิ่ง  มีปริมาณมากเกินความต้องการ
ของมนุษย์  มีการหมุนเวียนเป็นวัฎจักร  คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติประเภทนี้อาจลดน้อยลง
เมื่อถูกใช้มากเกินไปหรือผิดวิธี  ทรัพยากรประเภทนี้ ได้แก่  บรรยากาศ  น้ำ

2)  ทรัพยากรที่ใช้แล้วเกิดขึ้นทดแทนหรือรักษาให้คงอยู่ได้  (Replaceable and
Maintainable Natural Resources)  เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดขึ้นใหม่ได้ตลอดเวลา
หากมีการรักษาหรือจัดการให้อยู่ในระดับที่สมดุลกันตามธรรมชาติ  หรือใช้ให้ถูกวิธี
ทรัพยากรธรรมชาติ  ประเภทนี้ ได้แก่  ป่าไม้  ดิน  สัตว์ป่า  สัตว์น้ำ  เป็นต้น

3)  ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป  (Exhaustible Natural Resources)  เป็นทรัพยากรที่ใช้แล้ว
หมาดไปเกิดขึ้นทดแทนได้ยากหรือต้องใช้เวลานานมาก ได้แก่ ทรัพยากรแร่
ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์
        ทรัพยากรธรรมชาติมีความสำคัญต่อการดำรงชีพของมนุษย์มาก  มนุษย์ใช้ประโยชน์
ทรัพยากรธรรมชาติในด้านต่าง ๆ กัน ดังนี้
1)  การดำรงชีพโดยตรง  มนุษย์ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยพื้นฐาน  ได้แก่  อาหาร
เครื่องนุ่งห่ม  ยารักษาโรค  ที่อยู่อาศัย
2)  เป็นวัตถุดิบในการผลิตเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ  มนุษย์ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นพื้นฐาน
ทางเศรษฐกิจ  เช่น  แร่ธาตุ  น้ำมัน  เป็นต้น
3)  ทำหน้าที่รองรับของเสียจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์  เช่น  แม่น้ำเป็นที่ระบายน้ำเสีย
จากบ้านเรือน  ดินรองรับการทิ้งขยะ  เป็นต้น
4)  เป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาสมดุลธรรมชาติ  เนื่องจากมนุษย์เองก็เป็นสิ่งมีชีวิตในระบบ
สิ่งแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับธรรมชาติ  ถ้าสิ่งเหล่านี้ถูกทำลายย่อมมีผลถึง
มนุษย์ด้วย
5)  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เป็นพื้นฐานวัฒนธรรมในสังคมมนุษย์

ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติ

ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติ


โดยทั่วไปทรัพยากรธรรมชาติ มีอยู่ 3 ประเภท โดยแบ่งตามลักษณะและการใช้ประโยชน์ ได้แก่
๑.ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ไม่หมด

      
      ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช่ไม่หมด หมายถึง ทรัพยากร ที่มี อยู่มากเกิน ความต้องการ ใช้อย่างไรก็มี วันหมดสิ้น เพราะธรรมชาติ มีระบบที่ผลิตทรัพยากรชนิดนี้ออกมา อย่างรวดเร็ว ในปริมาณมาก ๆ แต่ถ้าใช้ไม่ถูกวิธี หรือไม่ก็ ไม่ช่วยกันรักษา ก็อาจเสื่อมคุณภาพได้ และใช้ประโยชน์ ได้น้อยลง เช่น อากาศ แสง เป็นต้น

๒.ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถสร้างทดแทนขึ้นใหม่ได้

      
      ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถสร้างขึ้นใหม่ทดแทนได ้ หมายถึง ทรัพยากรธรรมชาติที่เมื่อนำมาใช้แล้ว ธรรมชาติ ิสามารถ สร้างทดแทนขึ้นในส่วนที่ใช้ไปได้ แต่ต้องใช้ เวลานาน พอสมควร ซึ่งถ้ามีการดูแลรักษา และ จัดการอย่าง ถูกวิธี ก็จะทำให้ทรัพยากรชนิดนั้น คุณภาพ และปริมาณอย่าง เพียงพอ ที่จะทำให้มนุษย์ นำไปใช้ ้อย่างยาวนาน โดยไม่ต้อง เดือดร้อน เช่น น้ำ ดิน ป่าไม้ สัตว์ป่า เป็นต้น

๓.ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป

      
      ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป หมายถึง ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด เมื่อนำมาใช้ หมดไป ไม่สามารถสร้างทด แทนใหม่ ได้ หรือ ต้องใช้ระยะเวลานาน นับหลายหมื่น หรือหลายแสนปี ีกว่าธรรมชาติ จะสร้างขึ้น ใหม่ได้ เช่น แร่ธาตุชนิดต่างๆ ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือมีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น อากาศ ดิน หิน แร่ธาตุ น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทร พืชพรรณสัตว์ต่าง ๆ ภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะมนุษย์เป็นตัวการสำคัญยิ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงทั้งในทางเสริมสร้างและทำลาย
จะเห็นว่า ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ต่างกันที่สิ่งแวดล้อมนั้นรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฎอยู่รอบตัวเรา ส่วนทรัพยากรธรรมชาติเน้นสิ่งที่อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์มากกว่าสิ่งอื่น
ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 ทรัพยากรธรรมชาติ แบ่งตามลักษณะที่นำมาใช้ได้ ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วไม่หมดสิ้น ได้แก่
   1) ประเภทที่คงอยู่ตามสภาพเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เลย เช่น พลังงาน จากดวงอาทิตย์ ลม อากาศ ฝุ่น ใช้เท่าไรก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่รู้จักหมด
   2) ประเภทที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากถูกใช้ในทางที่ผิด เช่น ที่ดิน น้ำ ลักษณะภูมิประเทศ ฯลฯ ถ้าใช้ไม่เป็นจะก่อให้เกิดปัญหาตามมา ได้แก่ การปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำ ๆ ซาก ๆ ในที่เดิม ย่อมทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ ได้ผลผลิตน้อยลงถ้าต้องการให้ดินมีคุณภาพดีต้องใส่ปุ๋ยหรือปลูกพืชสลับและหมุนเวียน
2. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วหมดสิ้นไป ได้แก่
   1) ประเภทที่ใช้แล้วหมดไป แต่สามารถรักษาให้คงสภาพเดิมไว้ได้ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า ประชากรโลก ความอุดมสมบูรณ์ของดิน น้ำเสียจากโรงงาน น้ำในดิน ปลาบางชนิด ทัศนียภาพอันงดงาม ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้เกิดขึ้นใหม่ได้
   2) ประเภทที่ไม่อาจทำให้มีใหม่ได้ เช่น คุณสมบัติธรรมชาติของดิน พร สวรรค์ของมนุษย์ สติปัญญา เผ่าพันธุ์ของมนุษย์ชาติ ไม้พุ่ม ต้นไม้ใหญ่ ดอกไม้ป่า สัตว์บก สัตว์น้ำ ฯลฯ
   3) ประเภทที่ไม่อาจรักษาไว้ได้ เมื่อใช้แล้วหมดไป แต่ยังสามารถนำมายุบให้ กลับเป็นวัตถุเช่นเดิม แล้วนำกลับมาประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เช่น โลหะต่าง ๆ สังกะสี ทองแดง เงิน ทองคำ ฯลฯ
   4) ประเภทที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปนำกลับมาใช้อีกไม่ได้ เช่น ถ่านหิน น้ำมันก๊าซ อโลหะส่วนใหญ่ ฯลฯ ถูกนำมาใช้เพียงครั้งเดียวก็เผาไหม้หมดไป ไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้
   ทรัพยากรธรรมชาติหลักที่สำคัญของโลก และของประเทศไทยได้แก่ ดิน ป่าไม้ สัตว์ป่า น้ำ แร่ธาตุ และประชากร (มนุษย์)
สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมของมนุษย์ที่อยู่รอบ ๆ ตัว ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ซึ่งเกิดจาก การกระทำของมนุษย์แบ่งออกเป็น ประเภท คือ
1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
2. สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อมประดิษฐ์ หรือมนุษย์เสริมสร้างกำหนดขึ้น
สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ จำแนกได้ ชนิด คือ
1) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ อากาศ ดิน ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะ ภูมิอากาศ ทัศนียภาพต่าง ๆ ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทรและทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิด
2) สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพหรือชีวภูมิศาสตร์ ได้แก่ พืชพันธุ์ธรรมชาติต่าง ๆ สัตว์ป่า ป่าไม้ สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อยู่รอบตัวเราและมวลมนุษย์
สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อมประดิษฐ์ หรือมนุษย์เสริมสร้างขึ้น ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่มนุษย์เสริมสร้างขึ้นโดยใช้กลวิธีสมัยใหม่ ตามความเหมาะสมของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา และวัฒนธรรม เช่น เครื่องจักร เครื่องยนต์ รถยนต์ พัดลม โทรทัศน์ วิทยุ ฝนเทียม เขื่อน บ้านเรือน โบราณสถาน โบราณวัตถุท อื่น ๆ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ค่านิยม และสุขภาพอนามัย
สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งเกิดจากสาเหตุ ประการ คือ
1) มนุษย์
2) ธรรมชาติแวดล้อม มนุษย์ เป็นตัวการเปลี่ยนแปลงสังคมเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง มากกว่าสิ่ง อื่น เช่น ชอบจับปลาในฤดูวางไข่ ใช้เครื่องมือถี่เกินไปทำให้ปลาเล็ก ๆ ติดมาด้วย ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า เพื่อนำมาสร้างที่อยู่อาศัย ส่งเป็นสินค้า หรือเพื่อใช้พื้นที่เพาะปลูกปล่อยของเสียจากโรงงานและไอเสียจากรถยนต์ทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ (น้ำเน่า อากาศเสีย)
ธรรมชาติแวดล้อม ส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ เช่น แม่น้ำที่พัดพาตะกอนไปทับถมบริเวณน้ำท่วม และปากแม่น้ำต้องใช้เวลานานจึงจะมีตะกอนมาก การกัดเซาะพังทลายของดินก็เช่นเดียวกัน ส่วนการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้นเกิดจากแรงภายในโลก เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด อื่น ๆ ได้แก่ อุทกภัยและวาตภัย ไฟป่า เป็นต้น ซึ่งภัยธรรมชาติดังกล่าวจะไม่เกิดบ่อยครั้งนัก
สรุป มนุษย์เป็นตัวการสร้าง และทำลายสิ่งแวดล้อมมากกว่าธรรมชาติ ความสำคัญของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
สหรัฐอเมริกา ได้ส่งดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก (Earth Resources Technology Satellite หรือ ERTS) ดวงแรกของโลกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ดาวเทียมนี้จะโคจรรอบโลกจากขั้วโลกเหนือไปทางขั้วโลกใต้รวม 14 รอบต่อวันและจะโคจรกลับมาจุดเดิมอีกทุก ๆ 18 วัน ข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมจะมีทั้งรูปภาพและเทปสมองกลบันทึกไว้ ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งในการช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติของโลก ส่วนประเทศไทยก็ได้รับข้อมูล และภาพที่เป็นประโยชน์ในด้านการเกษตร การสำรวจทางธรณีวิทยา ป่าไม้ การชลประทาน การประมง หลังจากที่สหรัฐส่งดาวเทียมดวงแรกได้ 1 ปีแล้ว ได้ส่งสกายแล็บ และดาวเทียมตามโครงการดังกล่าวอีก ดวง ในปี พ.ศ. 2520 และ พ.ศ. 2522 นับว่ามีส่วนช่วยส่งเสริมพัฒนาความรู้ในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและการวางโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิดบนพื้นโลก
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ป่าไม้ สัตว์ป่าและปลา น้ำ ดิน อากาศ แร่ธาตุ มนุษย์และทุ่งหญ้า

ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติ

ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติ
          ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural resources) หมายถึงสิ่งที่ปรากฏอยู่ตามธรรมชาติหรือสิ่งที่ขึ้นเอง อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์และธรรมชาติด้วยกันเอง (ทวี ทองสว่าง และทัศนีย์ ทองสว่าง,2523:4) ถ้าสิ่งนั้นยังไม่ให้ประโยชน์ต่อมนุษย์ ก็ไม่ถือว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติ (เกษม จันทร์แก้ว,2525:4)
          ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติมักจะมองในแง่ที่ว่า เป็นสิ่งอำนวยประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม หากไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรเลยก็คงไม่ใช่ทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้นจึงมีการจัดประเภททรัพยากรธรรมชาติไว้หลายประเภทด้วยกัน เช่น ดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า แร่ธาตุ ฯลฯ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่เป็นแหล่งพลังงานสำคัญ
          การใช้คำว่า "ทรัพยากรธรรมชาติ" และคำว่า "สิ่งแวดล้อม" บางครั้งผู้ใช้อาจจะเกิดความสับสนไม่ทราบว่าจะใช้คำไหนดี จึงน่าพิจารณาว่าคำทั้งสองนี้มีความคล้ายคลึงและแตกต่างกันอย่างไร ในเรื่องนี้ เกษม จันทร์แก้ว (2525:7-8) ได้เสนอไว้ดังนี้
          1. ความคล้ายคลึงกัน ในแง่นี้พิจารณาจากที่เกิด คือ เกิดขึ้นตามธรรมชาติเหมือนกัน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์ต่อมนุษย์เช่นกัน มนุษย์รู้จักใช้ รู้จักคิดในการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ และมนุษย์อาศัยอยู่ในทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ก็ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติ แล้วมนุษย์ก็เรียกสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดว่า "สิ่งแวดล้อม" ความคล้ายคลึงกันของคำว่า ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่ที่ว่าทรัพยากรธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม
          2. ความแตกต่าง ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่สิ่งแวดล้อมนั้นประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ หากขาดทรัพยากรธรรมชาติ มนุษย์จะไม่สามารถสร้างสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ได้เลย
          ถ้าแยกมนุษย์ออกมาในฐานะผู้ใช้ประโยชน์จากสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ เมื่อกล่าวถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จึงควรใช้คำว่า "ทรัพยากรธรรมชาติ" แต่ถ้าต้องการกล่าวรวม ๆ ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นก็ควรใช้คำว่า "สิ่งแวดล้อม" แต่ถ้าต้องการเน้นเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน ก็ควรใช้คำว่า "ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม"


เมื่อกล่าวถึงสิ่งแวดล้อมหลาย ๆ คน จะเข้าใจถึงเรื่องของน้ำเสีย ควันพิษในอากาศ ไอเสียจากรถยนต์ ขยะมูลฝอย ฯลฯ ซึ่งในความเป็นจริง สิ่งแวดล้อม มีความหมายกว้างมาก มีความสัมพันธ์กับทุก ๆ สิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ใน Module นี้ จะสนทนากัน ในเรื่องของคน มีความสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อมอย่างไร โดยที่ตระหนักอยู่เสมอว่า ในอดีตที่ผ่านมา ปัญหาเรื่อง ความสมดุลย์ของ ธรรมชาติกับคนยังไม่มี คนส่วนใหญ่ในยุคต้น ๆ จึงมีชีวิตอยู่ใต้ อิทธิพลของธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลง ทางด้านธรรมชาติ และสภาพแวดล้อม มีลักษณะที่ ค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งไม่ก่อให้เกิดผลกระทบ ทางสิ่งแวดล้อมมากนัก แต่เนื่องจาก มีความเจริญก้าวหน้า ด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม ขยายตัวมากขึ้น ประกอบด้วย ความต้องการของมนุษย์ มีอยู่ไม่จำกัด จึงทำให้เกิดปัญหา ทางด้านสิ่งแวดล้อม ขึ้นในโลกสีเขียวของเรา เช่น ปัญหาทางด้าน ภาวะมลพิษทางเสียและน้ำ ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ เสื่อมสลาย ปัญหาการตั้งถิ่นฐาน และชุมชน ดังนั้น จึงมีความจำเป็น ที่จะต้องกล่าวถึง มนุษย์กับความสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อมอย่างไร