ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนนำมาใช้ ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง ตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์ อุบัติขึ้นในโลก ทรัพยากรธรรมชาตินำมาซึ่งปัจจัยสี่ อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน ในการดำเนินชีวิต ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค แต่ปัจจุบันมนุษย์ ไม่ได้มีความต้องการเฉพาะ ปัจจัยสี่หลักที่กล่าวมาแล้วเท่านั้น มนุษย์ยังต้องการ สิ่งอำนวยความ สะดวกอีกมากมาย อันเป็นสาเหตุให้มนุษย์ นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ อย่างมากมายและ ฟุ่มเฟือย ทรัพยากรธรรมชาติจึงร่อยหรอไปอย่างรวดเร็ว การที่มนุษย์ผู้ใช้ประโยชน์ มักไม่ค่อย สนใจ วิธีการสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ปล่อยให้ทรัพยากรธรรมชาติต้องสูญเสียไป โดยเปล่าประโยชน์ และผลกระทบเหล่านั้น ก็ส่งผลกระทบถึงตัวมนุษย์เอง อาทิมาตรฐานการ ครองชีพต่ำ ภาวะการขาดแคลนอาหารภัยพิบัติ ที่เกิดจากธรรมชาติ ขาดความสมดุล เช่น อุทกภัยวาตภัย ดินเสื่อมคุณภาพ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้หมดไป สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนแต่เกิดขึ้นจาก การใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยไม่นำพากับการอนุรักษ์ และการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างถูกวิธีทั้งสิ้น สักวันหนึ่งทรัพยากรธรรมชาติ เหล่านี้ต้องหมดไป หรือ เสื่อมคุณภาพ ความจำเป็นในการที่มนุษย์จะต้องช่วยกัน อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อ ให้สามารถ อำนวยประโยชน์ให้แก่มนุษย์ ให้มากที่สุด ยาวนานที่สุดเท่าที่จะทำได้

ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resources) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
สามารถสนองความต้องการของมนุษย์ได้ หรือมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีพได้
(นิวัติ, 2537) เช่น น้ำ ป่าไม้ ดิน สัตว์ป่า แร่ธาตุ เป็นต้น
ที่ผ่านมากิจกรรมการพัฒนาต่างๆ ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมของมนุษย์เป็นการนำเอา
ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ ซึ่งการใช้ประโยชน์ ทรัพยากรต่าง ๆจะก่อให้เกิด
ผลกระทบต่อความสมดุลของระบบนิเวศ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรหนึ่งย่อมมี
ผลกระทบต่อทรัพยากรอื่น ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น การทำไม้จะทำให้เกิดผลกระทบต่อการ
พังทลายของดินคุณภาพน้ำแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสัตว์ป่า ต่างๆ ปริมาณ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศของโลก เป็นต้น
สำหรับประเทศไทย สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2547)
กล่าวว่า การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อ
ความต้องการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรป่าไม้
ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงาน ทรัพยากรชายฝั่งและ
ทรัพยากรประมง ทำให้ปริมาณและคุณภาพของทรัพยากรต่าง ๆ ลดลง จำเป็นจะต้อง
มีการติดตามและตรวจสอบสถานภาพของทรัพยากรธรรมชาติของประเทศอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อให้สามารถวางแผนและดำเนินการแก้ไขได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยการจัดการ
ทรัพยากรต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นให้รอบด้าน เพื่อให้เกิดการใช้
ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป
สิ่งแวดล้อม (Environment) หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ มีความ
เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ มีทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ทั้งที่มีชีวิตและ
ไม่มีชีวิต อย่างไรก็ตามสิ่งแวดล้อมอาจแบ่งตามลักษณะได้ 2 ส่วน คือ
1) สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือ ทรัพยากรธรรมชาติ
2) สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น สิ่งก่อสร้าง ชุมชนเมือง โบราณสถาน
ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม เป็นต้น
ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resources) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
สามารถสนองความต้องการของมนุษย์ได้ หรือมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีพได้
(นิวัติ, 2537) เช่น น้ำ ป่าไม้ ดิน สัตว์ป่า แร่ธาตุ เป็นต้น
ที่ผ่านมากิจกรรมการพัฒนาต่างๆ ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมของมนุษย์เป็นการนำเอา
ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ ซึ่งการใช้ประโยชน์ ทรัพยากรต่าง ๆจะก่อให้เกิด
ผลกระทบต่อความสมดุลของระบบนิเวศ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรหนึ่งย่อมมี
ผลกระทบต่อทรัพยากรอื่น ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น การทำไม้จะทำให้เกิดผลกระทบต่อการ
พังทลายของดินคุณภาพน้ำแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสัตว์ป่า ต่างๆ ปริมาณ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศของโลก เป็นต้น
สำหรับประเทศไทย สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2547)
กล่าวว่า การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อ
ความต้องการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรป่าไม้
ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงาน ทรัพยากรชายฝั่งและ
ทรัพยากรประมง ทำให้ปริมาณและคุณภาพของทรัพยากรต่าง ๆ ลดลง จำเป็นจะต้อง
มีการติดตามและตรวจสอบสถานภาพของทรัพยากรธรรมชาติของประเทศอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อให้สามารถวางแผนและดำเนินการแก้ไขได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยการจัดการ
ทรัพยากรต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นให้รอบด้าน เพื่อให้เกิดการใช้
ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป
สิ่งแวดล้อม (Environment) หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ มีความ
เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ มีทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ทั้งที่มีชีวิตและ
ไม่มีชีวิต อย่างไรก็ตามสิ่งแวดล้อมอาจแบ่งตามลักษณะได้ 2 ส่วน คือ
1) สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือ ทรัพยากรธรรมชาติ
2) สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น สิ่งก่อสร้าง ชุมชนเมือง โบราณสถาน
ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม เป็นต้น
ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่รอบตัวมนุษย์ สามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1) ทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่รู้จักหมดสิ้น (Inexhaustible Natural Resources) ทรัพยากร
ธรรมชาติประเภทนี้มีความจำเป็นต่อร่างกายและสิ่งมีชีวิตอย่างยิ่ง มีปริมาณมากเกินความต้องการ
ของมนุษย์ มีการหมุนเวียนเป็นวัฎจักร คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติประเภทนี้อาจลดน้อยลง
เมื่อถูกใช้มากเกินไปหรือผิดวิธี ทรัพยากรประเภทนี้ ได้แก่ บรรยากาศ น้ำ
2) ทรัพยากรที่ใช้แล้วเกิดขึ้นทดแทนหรือรักษาให้คงอยู่ได้ (Replaceable and
Maintainable Natural Resources) เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดขึ้นใหม่ได้ตลอดเวลา
หากมีการรักษาหรือจัดการให้อยู่ในระดับที่สมดุลกันตามธรรมชาติ หรือใช้ให้ถูกวิธี
ทรัพยากรธรรมชาติ ประเภทนี้ ได้แก่ ป่าไม้ ดิน สัตว์ป่า สัตว์น้ำ เป็นต้น
3) ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป (Exhaustible Natural Resources) เป็นทรัพยากรที่ใช้แล้ว
หมาดไปเกิดขึ้นทดแทนได้ยากหรือต้องใช้เวลานานมาก ได้แก่ ทรัพยากรแร่
ทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่รอบตัวมนุษย์ สามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1) ทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่รู้จักหมดสิ้น (Inexhaustible Natural Resources) ทรัพยากร
ธรรมชาติประเภทนี้มีความจำเป็นต่อร่างกายและสิ่งมีชีวิตอย่างยิ่ง มีปริมาณมากเกินความต้องการ
ของมนุษย์ มีการหมุนเวียนเป็นวัฎจักร คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติประเภทนี้อาจลดน้อยลง
เมื่อถูกใช้มากเกินไปหรือผิดวิธี ทรัพยากรประเภทนี้ ได้แก่ บรรยากาศ น้ำ
2) ทรัพยากรที่ใช้แล้วเกิดขึ้นทดแทนหรือรักษาให้คงอยู่ได้ (Replaceable and
Maintainable Natural Resources) เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดขึ้นใหม่ได้ตลอดเวลา
หากมีการรักษาหรือจัดการให้อยู่ในระดับที่สมดุลกันตามธรรมชาติ หรือใช้ให้ถูกวิธี
ทรัพยากรธรรมชาติ ประเภทนี้ ได้แก่ ป่าไม้ ดิน สัตว์ป่า สัตว์น้ำ เป็นต้น
3) ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป (Exhaustible Natural Resources) เป็นทรัพยากรที่ใช้แล้ว
หมาดไปเกิดขึ้นทดแทนได้ยากหรือต้องใช้เวลานานมาก ได้แก่ ทรัพยากรแร่
ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์
ทรัพยากรธรรมชาติมีความสำคัญต่อการดำรงชีพของมนุษย์มาก มนุษย์ใช้ประโยชน์
ทรัพยากรธรรมชาติในด้านต่าง ๆ กัน ดังนี้
1) การดำรงชีพโดยตรง มนุษย์ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยพื้นฐาน ได้แก่ อาหาร
เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย
2) เป็นวัตถุดิบในการผลิตเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ มนุษย์ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นพื้นฐาน
ทางเศรษฐกิจ เช่น แร่ธาตุ น้ำมัน เป็นต้น
3) ทำหน้าที่รองรับของเสียจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่น แม่น้ำเป็นที่ระบายน้ำเสีย
จากบ้านเรือน ดินรองรับการทิ้งขยะ เป็นต้น
4) เป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาสมดุลธรรมชาติ เนื่องจากมนุษย์เองก็เป็นสิ่งมีชีวิตในระบบ
สิ่งแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับธรรมชาติ ถ้าสิ่งเหล่านี้ถูกทำลายย่อมมีผลถึง
มนุษย์ด้วย
5) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นพื้นฐานวัฒนธรรมในสังคมมนุษย์
ทรัพยากรธรรมชาติมีความสำคัญต่อการดำรงชีพของมนุษย์มาก มนุษย์ใช้ประโยชน์
ทรัพยากรธรรมชาติในด้านต่าง ๆ กัน ดังนี้
1) การดำรงชีพโดยตรง มนุษย์ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยพื้นฐาน ได้แก่ อาหาร
เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย
2) เป็นวัตถุดิบในการผลิตเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ มนุษย์ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นพื้นฐาน
ทางเศรษฐกิจ เช่น แร่ธาตุ น้ำมัน เป็นต้น
3) ทำหน้าที่รองรับของเสียจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่น แม่น้ำเป็นที่ระบายน้ำเสีย
จากบ้านเรือน ดินรองรับการทิ้งขยะ เป็นต้น
4) เป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาสมดุลธรรมชาติ เนื่องจากมนุษย์เองก็เป็นสิ่งมีชีวิตในระบบ
สิ่งแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับธรรมชาติ ถ้าสิ่งเหล่านี้ถูกทำลายย่อมมีผลถึง
มนุษย์ด้วย
5) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นพื้นฐานวัฒนธรรมในสังคมมนุษย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น