วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทย

ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทย


ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่อย่างมากมาย และยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ แบ่งออกเป็น ทรัพยากรดิน ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรน้ำ และทรัพยากรแร่ธาตุ

ทรัพยากรดิน[แก้]

ดินที่ปรากฏในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย แบ่งได้ 4 ชนิด[1] ได้แก่ ดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย และดินอินทรีย์
  • ดินเหนียว: พบได้ทั่วไปในบริเวณที่ราบของแม่น้ำสายต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะเป็นที่ราบน้ำท่วมถึง ที่ราบปากแม่น้ำ ในภาคเหนือพบบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบได้ในบริเวณแอ่งโคราช ภาคตะวันออกพบบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกง ภาคตะวันตกพบบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่กลอง และภาคใต้พบบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำตาปี ปากพนัง ดินเหนียวมีลักษณะเป็นเนื้อละเอียด ขยายและหดตัวได้สูง จึงสามารถแตกระแหงได้โดยเฉพาะในฤดูแล้ง เหมาะแก่การปลูกข้าว ปอกระเจา เป็นต้น
  • ดินร่วน: พบได้ทั่วไปในภูมิประเทศที่เป็นที่ดิน โคก เนิน โนน ซึ่งเป็นตะพักลำน้ำของแม่น้ำ ดินชนิดนี้พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลางตอนบน และภาคเหนือ ดินร่วนประกอบด้วยดินเหนียวและดินทราย เหมาะแก่การปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ทานตะวัน อ้อย มันสำปะหลัง เป็นต้น
  • ดินทราย: พบบริเวณเชิงเขา ชายฝั่งทะเล และริมฝั่งแม่น้ำ พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินจะประกอบด้วยทรายมากเนื่องจากเป็นดินที่เกิดใหม่ เหมาะแก่การปลูกป่าและพืชสวน
  • ดินอินทรีย์: พบในพื้นที่ที่เคยเป็นป่าชายเลนเก่า ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นพื้นที่ราบลุ่มอยู่ในแผ่นดิน โดยจะเรียกพื้นที่ลักษณะนี้ว่า "พรุ" ดินชนิดนี้พบได้ใน ป่าพรุสิรินธร จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น ดินอินทรีย์ประกอบด้วยซากพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อยย่อยสลายแล้ว เป็นวัตถุสะสมอยู่ในดินชั้นบน

ทรัพยากรป่าไม้[แก้]

ในประเทศไทยมีป่าไม้กระจายอยู่ทั่วประเทศ มีลักษณะแตกต่างกันตามภูมิประเทศและภูมิอากาศ แบ่งได้ 2 ประเภท[1] ได้แก่ ป่าผลัดใบ และป่าไม่ผลัดใบ

ทรัพยากรน้ำ[แก้]

แม่น้ำเจ้าพระยา เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของประเทศไทย
เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ต้องมีการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเกษตร แหล่งน้ำสำคัญในประเทศไทยมี 2 แหล่ง[1] ได้แก่ จากน้ำผิวดินและน้ำบาดาล
  • น้ำผิวดิน: ได้แก่ ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ อ่างเก็บน้ำ เขื่อน ประเทศไทยมีแม่น้ำที่สำคัญที่สุดคือ แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของประเทศหล่อเลี้ยงพื้นที่ราบใหญ่ทางตอนกลางของประเทศ นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำสำคัญตามภาคเช่น แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ในภาคเหนือ แม่น้ำมูล ชี ในภาคอีสาน แม่น้ำแม่กลองในภาคตะวันตก แม่น้ำตาปี ในภาคใต้
  • น้ำบาดาล: ในประเทศไทยน้ำบาดาลในแหล่งต่าง ๆ ถูกนำมาใช้มาก เนื่องจากการขาดแคลนน้ำผิวดินและมีโครงข่ายน้ำประปาไม่ทั่วถึง เช่น หมู่บ้านจัดสรร โรงงานอุตสาหกรรม จนเกิดปัญหาการทรุดตัวของแผ่นดิน เช่น บริเวณเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร เช่น พื้นที่เขตบางนา ลาดกระบัง หนองจอก มีนบุรี จังหวัดสมุทรปราการและปทุมธานี

ทรัพยากรแร่ธาตุ[แก้]

ประเทศไทยมีทรัพยากรแร่ธาตุมากมายหลายชนิดทั้งแร่โลหะ แร่อโลหะ แร่เชื้อเพลิง กัมมันตภาพรังสีและแร่รัตนชาติ มีการขุดขึ้นมาใช้ตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน แร่ที่สำคัญในประเทศไทยแยกตามชนิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น